การที่เลือดไหลเวียนในร่างกายได้นั้น เกิดจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ไล่เลือดออกจากหัวใจไปอยู่ในหลอดเลือดแดงเพื่อนำอาหารและอ๊อกซิเจนไปเลี้ยงเซลต่างๆ แรงดันที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดนี่เอง ที่เราเรียกความ แรงดันเลือด หรือ ความดันโลหิต ซึ่งมีสองค่าเสมอ คือ ตัวบน (หัวใจบีบตัว) และ ตัวล่าง (หัวใจคลายตัว) เช่น 130/80 หน่วยนับของความดันโลหิตที่นิยมใช้กันคือ มิลลิเมตรปรอท
ความดันโลหิต ที่"ปกติ" เป็นเท่าไหร่ ความจริงแล้วอยากเรียนว่าไม่มีค่าที่ปกติจริงๆคือ ไม่มีขาว ดำ ไม่มีปกติ ผิดปกติ แต่เป็นค่าที่ผู้เชี่ยวชาญกำหนดขึ้นว่า ค่าความดันโลหิต ควรจะเป็นเท่าไหร่ถึงจะปลอดภัยที่สุดมากกว่า สรุปง่ายๆคือ
ค่าที่เหมาะสมที่สุด คือ น้อยกว่า 120/80 มม.ปรอท
ค่าที่ยอมรับได้ 130/85 มม.ปรอท
เริ่มๆจะสูง 130-139/85-89 มม.ปรอท ค่านี้ถือว่า "ไม่ปกติ" เพราะจากการติดตามกลุ่มที่มีความดันโลหิตระดับนี้ไปนานๆ พบว่ากลายเป็นความดันโลหิตสูง และมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง มากกว่าคนที่ความดันโลหิต 120/80 มม.ปรอท อย่างชัดเจน จึงเป็นกลุ่มที่ต้องติดตามเป็นพิเศษ
จะถือว่ามีความดันโลหิตสูงเมื่อค่ามากกว่า 140/90 มม.ปรอท
ความดันโลหิตสูง ไม่จำเป็นต้องมีอาการ ทราบได้จากการวัดความดันโลหิตเท่านั้น ผู้ป่วยบางรายไม่เคยตรวจสุขภาพไม่เคยวัดความดันโลหิตมาก่อน เพราะคิดว่าสบายดี กว่าจะรู้ตัวว่ามีความดันโลหิตสูงก็เกือบสายไปแล้ว ดังนั้น จึงเปรียบเทียบความดันโลหิตสูงเสมือนฆาตกรเงียบ silent killer ที่ทำลายอวัยวะสำคัญๆในร่างกาย ทั้งหลอดเลือดสมอง หัวใจ ไต ตา หลอดเลือดแดงใหญ่ กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานหนักมากอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้....
ตรวจสุขภาพ วัดความดันโลหิตเสียแต่วันนี้ หากพบว่ามีความดันโลหิตสูง ควรรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะโรคนี้ไม่หายขาด อย่าหยุดยาเอง การละเลยไม่รักษาอาจก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรง เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดแดงใหญ่แตก หลอดเลือดสมองแตก เป็นต้น
2 ความคิดเห็น:
แสดงบอลหัวใจรักโพสต์และทุกคนที่เกี่ยวข้องในจักรวาลที่สวยงามแห่งนี้
แสดงบอลหัวใจรักโพสต์และทุกคนที่เกี่ยวข้องในจักรวาลที่สวยงามแห่งนี้
แสดงความคิดเห็น