โรคหัวใจ มีความหมายกว้างมาก และมีความสัมพันธ์กับโรคอื่นๆอย่างใกล้ชิด ทั้งความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูงฯลฯ ผู้ป่วยโรคหัวใจ จึงมักจะได้รับยาหลายชนิดร่วมกัน นอกจากนั้น ยาแต่ละชนิด มีคุณสมบัติหลายอย่าง สามารถนำไปใช้รักษาในหลายโรค ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน ซึ่งมักจะทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิด ยกตัวอย่างเช่น ยาขับปัสสาวะ นอกจากใช้เป็นยาขับน้ำและเกลือในผู้ที่บวมแล้ว ยังนำมาใช้เป็นยาลดความดันโลหิตอีกด้วย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมักจะไม่เข้าใจ และ ถามว่าทำไมต้องรับประทานยาขับปัสสาวะ ทั้งๆที่ปัสสาวะปกติไม่ต้องขับแต่อย่างใด บทความนี้จะกล่าวถึงการใช้ยาต่างๆในผู้ป่วยโรคหัวใจตามกลุ่มโรค แต่จะไม่ลงในรายละเอียดของยาแต่ละชนิด และ เลือกมาเฉพาะกลุ่มยาที่ใช้บ่อยเท่านั้น
ยารักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ
ยาที่ได้รับการพิสูจน์ว่าได้ประโยชน์ในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน มีดังนี้
Aspirin ยาแอสไพริน ขนาด 60 – 300 มิลลิกรัม เป็นยาต้านการเกาะกลุ่มกันของเกร็ดเลือด ลดการเกิดลิ่มเลือดเล็กๆ นำมาใช้ในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจทั้งในกรณีที่ไม่มีอาการ หรือ กำลังเกิด heart attack อยู่ ได้ผลดีในการช่วยลดอัตราการเสียชีวิต ผู้ป่วยควรได้รับยากลุ่มนี้ไปตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจร่วมกับการใส่ขดลวด (stent) ยกเว้นมีปัญหาจากการใช้ยา ผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ เลือดออกง่ายขึ้น แผลในกระเพาะอาหาร และ เลือดออกในทางเดินอาหาร ซึ่งพบได้แม้จะใช้ขนาดต่ำก็ตาม
Ticlopidine หรือ Clopidogrel เป็นยาต้านการเกาะกลุ่มกันของเกร็ดเลือดอีกชนิดหนึ่ง ที่ใช้ร่วมกับแอสไพริน หรือ ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานแอสไพรินได้ ผู้ป่วยที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจร่วมกับการใส่ขดลวด (stent) จำเป็นต้องได้รับยากลุ่มนี้ร่วมกับ แอสไพริน ไประยะหนึ่ง การหยุดยานี้โดยไม่จำเป็น อาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงได้ถึงชีวิตได้ ต้องปรึกษาแพทย์หัวใจที่ดูแลอยู่ก่อนหยุดยาทุกครั้ง
Statins เป็นยาลดไขมันในเลือด ออกฤทธิ์โดยลดการสร้างไขมันโคเลสเตอรอลที่ตับ นอกจากลดระดับไขมัน แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล ในเลือดแล้ว ยังช่วยให้ไขมันที่สะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดหัวใจไม่แตกปริง่ายๆ และไม่สะสมเพิ่มขึ้นอีกด้วย จึงเป็นยาที่ได้ประโยชน์อย่างมากในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แม้ว่าระดับไขมันในเลือดจะไม่สูง ยานี้ควรรับประทานไปตลอดชีวิต ผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ปวดกล้ามเนื้อ ตับอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ ซึ่งพบน้อยและส่วนมากไม่รุนแรง
Nitrates ไนเตรทเป็นยาที่ใช้กันมานาน ช่วยบรรเทาอาการเจ็บแน่นหน้าอก ที่รู้จักกันดีในรูปแบบ ยาอมใต้ลิ้น หรือในรูปแบบยาเม็ดรับประทาน ยาไนเตรทช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจได้ชั่วคราว ช่วยควบคุมอาการเจ็บแน่นหน้าอก แต่มิได้ช่วยป้องกันการเสียชีวิต จึงไม่ใช่ยาวิเศษ อย่างที่หลายท่านเข้าใจ ดังนั้น หากมีอาการแน่นหน้าอก และมียาอมใต้ลิ้นอยู่ แนะนำให้อมยา หากอาการไม่ดีขึ้นต้องมาโรงพยาบาลโดยเร็ว ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในผู้ที่ไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีโรคหลอดเลือดหัวใจหรือไม่ เนื่องจากอาจเกิดผลแทรกซ้อนรุนแรง เช่น เป็นลม หัวใจเต้นช้า ในบางราย สำหรับผลแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือ ปวดศีรษะ
Beta-blockers ยาต้านเบต้า นอกจากช่วยลดความดันโลหิตแล้ว ยังช่วยลดการบีบตัว และ อัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้หัวใจใช้ออกซิเจนลดลง จึงช่วยควบคุมอาการเจ็บแน่นหน้าอกได้ นอกจากนั้นยานี้ยังช่วยลดอัตราตายในผู้ป่วยที่เคยมีกล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน
ยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) เกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งโรคของเยื่อหุ้มหัวใจ ลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ อาการสำคัญ คือ หอบเหนื่อยง่าย ตับโต ขาบวม ดังนั้น ยาหลักที่ใช้ในการรักษา คือ ยาขับปัสสาวะ และ ยาลดแรงต้านต่อหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานได้สบายขึ้น
ยาขับปัสสาวะ เป็นยาขับน้ำและเกลือออกจากร่างกาย ทำให้สารน้ำที่สะสมอยู่ในปอด ตับ หรือ ร่างกายของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวลดลง ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายขึ้น เหนื่อยและบวมลดลง แต่หากขับปัสสาวะมากเกินไปก็อาจเกิดอันตรายได้ เนื่องจากเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ จึงควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด
ยาลดแรงต้านต่อหัวใจ ยากลุ่มนี้ช่วยให้หัวใจทำงานได้สบายขึ้น เนื่องจากแรงต้านต่อการบีบตัวของหัวใจลดลง ได้แก่ยากลุ่ม Angiotensin Converting Enzyme Inhibitors (ACEI) และ Angiotensin II Receptor Blockers (ARB) นอกจากนั้นยังช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในระยะยาว และลดการรับไว้รักษาใน ร.พ. เนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวอีกด้วย จึงเป็นยาที่จำเป็นมากและควรได้รับไปตลอด อย่างไรก็ตามยากลุ่มนี้มีผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ความดันโลหิตต่ำ ไตเสื่อมในบางราย ไอ (เฉพาะ ACEI )
Beta-blockers ยาต้านเบต้าบางขนิด นำมาใช้ในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังได้ผลดี แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด
ยาลดความดันโลหิต
ภาวะความดันโลหิตสูง แม้จะไม่ใช่ โรคหัวใจ โดยตรงแต่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับโรคหัวใจมาก เนื่องจากความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจ และ ความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ไม่เป็นผลดีต่อผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจอยู่ อีกทั้งยาที่ใช้รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ และ ยาลดความดันโลหิต อาจเป็นยาชนิดเดียวกัน แต่แพทย์ให้ในวัตถุประสงค์แตกต่างกัน
ยาขับปัสสาวะ ยาขับปัสสาวะในขนาดต่ำเป็นยาลดความดันโลหิตที่ได้ผลดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ ผู้ที่รับประทานอาหารเค็ม หรือ บวม นอกจากนั้นยังราคาถูก แต่ผลแทรกซ้อนที่ควรระวัง คือ เกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ กรดยูริคและระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
Beta-blockers เป็นยาลดความดันโลหิตที่ใช้กันมานาน ลดความดันโลหิต ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ผลแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือ หลอดลมตีบในคนที่เป็นหอบหืดหรือสูบบุหรี่จัด อาการอ่อนเพลีย หย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเล็กน้อย
Calcium channel blockers ยากลุ่มนี้มีหลายชนิด ล้วนสามารถลดความดันโลหิตได้ดี ผลแทรกซ้อนที่พบบ่อยจะแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม เช่น ปวดศีรษะ ใจสั่น เท้าบวม เป็นต้น ไม่มีผลเสียต่อไต หรือ ระดับน้ำตาลในเลือด
Alpha-blockers เป็นยาลดความดันโลหิตอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ไม่มีผลเสียต่อไต หรือระดับน้ำตาลในเลือด และยังนำมาใช้ในการรักษาอาการปัสสาวะขัดเนื่องจากต่อมลูกหมากโตอีกด้วย
Angiotensin Converting Enzyme Inhibitors (ACEI) เป็นยาลดความดันโลหิตที่ปัจจุบันราคาไม่แพง ประสิทธิภาพดี แต่มีผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ อาการไอ มักจะไอแห้งๆคันคอ ไม่มีอาการหวัด ไอเป็นชุด คล้ายภูมิแพ้ อาการนี้พบได้บ่อยในคนเอเชีย ทำให้ผู้ป่วยต้องเปลี่ยนไปใช้ยากลุ่มอื่นแทน
Angiotensin II Receptor Blockers (ARB) เป็นยาลดความดันโลหิตที่ใช้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน ผลแทรกซ้อนจากยามีน้อยมาก ไม่ควรใช้ในกรณีที่ไตเสื่อมอย่างมาก (ยกเว้นได้รับการฟอกไต) ข้อเสียสำคัญคือราคาแพง
จะเห็นได้ว่า ยาที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจมีมากมายหลายชนิด อีกทั้งยาบางชนิดใช้ในหลายโรค และ ผู้ป่วยโรคหัวใจส่วนใหญ่จะมีโรคอื่นๆร่วมด้วย มักจะได้รับยาหลายชนิดร่วมกัน ผู้ป่วยควรจะต้องทราบว่ารับประทานยาอะไรอยู่บ้าง ขนาดยาเป็นอย่างไร โดยอาจจดชื่อยาและวิธีรับประทาน หรือ นำยาที่รับประทานอยู่ให้แพทย์ดูทุกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับยาซ้ำซ้อน และปฎิกริยาระหว่างยาด้วยกัน ซึ่งบางครั้งรุนแรงมาก
ยารักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ
ยาที่ได้รับการพิสูจน์ว่าได้ประโยชน์ในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน มีดังนี้
Aspirin ยาแอสไพริน ขนาด 60 – 300 มิลลิกรัม เป็นยาต้านการเกาะกลุ่มกันของเกร็ดเลือด ลดการเกิดลิ่มเลือดเล็กๆ นำมาใช้ในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจทั้งในกรณีที่ไม่มีอาการ หรือ กำลังเกิด heart attack อยู่ ได้ผลดีในการช่วยลดอัตราการเสียชีวิต ผู้ป่วยควรได้รับยากลุ่มนี้ไปตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจร่วมกับการใส่ขดลวด (stent) ยกเว้นมีปัญหาจากการใช้ยา ผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ เลือดออกง่ายขึ้น แผลในกระเพาะอาหาร และ เลือดออกในทางเดินอาหาร ซึ่งพบได้แม้จะใช้ขนาดต่ำก็ตาม
Ticlopidine หรือ Clopidogrel เป็นยาต้านการเกาะกลุ่มกันของเกร็ดเลือดอีกชนิดหนึ่ง ที่ใช้ร่วมกับแอสไพริน หรือ ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานแอสไพรินได้ ผู้ป่วยที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจร่วมกับการใส่ขดลวด (stent) จำเป็นต้องได้รับยากลุ่มนี้ร่วมกับ แอสไพริน ไประยะหนึ่ง การหยุดยานี้โดยไม่จำเป็น อาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงได้ถึงชีวิตได้ ต้องปรึกษาแพทย์หัวใจที่ดูแลอยู่ก่อนหยุดยาทุกครั้ง
Statins เป็นยาลดไขมันในเลือด ออกฤทธิ์โดยลดการสร้างไขมันโคเลสเตอรอลที่ตับ นอกจากลดระดับไขมัน แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล ในเลือดแล้ว ยังช่วยให้ไขมันที่สะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดหัวใจไม่แตกปริง่ายๆ และไม่สะสมเพิ่มขึ้นอีกด้วย จึงเป็นยาที่ได้ประโยชน์อย่างมากในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แม้ว่าระดับไขมันในเลือดจะไม่สูง ยานี้ควรรับประทานไปตลอดชีวิต ผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ปวดกล้ามเนื้อ ตับอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ ซึ่งพบน้อยและส่วนมากไม่รุนแรง
Nitrates ไนเตรทเป็นยาที่ใช้กันมานาน ช่วยบรรเทาอาการเจ็บแน่นหน้าอก ที่รู้จักกันดีในรูปแบบ ยาอมใต้ลิ้น หรือในรูปแบบยาเม็ดรับประทาน ยาไนเตรทช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจได้ชั่วคราว ช่วยควบคุมอาการเจ็บแน่นหน้าอก แต่มิได้ช่วยป้องกันการเสียชีวิต จึงไม่ใช่ยาวิเศษ อย่างที่หลายท่านเข้าใจ ดังนั้น หากมีอาการแน่นหน้าอก และมียาอมใต้ลิ้นอยู่ แนะนำให้อมยา หากอาการไม่ดีขึ้นต้องมาโรงพยาบาลโดยเร็ว ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในผู้ที่ไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีโรคหลอดเลือดหัวใจหรือไม่ เนื่องจากอาจเกิดผลแทรกซ้อนรุนแรง เช่น เป็นลม หัวใจเต้นช้า ในบางราย สำหรับผลแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือ ปวดศีรษะ
Beta-blockers ยาต้านเบต้า นอกจากช่วยลดความดันโลหิตแล้ว ยังช่วยลดการบีบตัว และ อัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้หัวใจใช้ออกซิเจนลดลง จึงช่วยควบคุมอาการเจ็บแน่นหน้าอกได้ นอกจากนั้นยานี้ยังช่วยลดอัตราตายในผู้ป่วยที่เคยมีกล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน
ยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) เกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งโรคของเยื่อหุ้มหัวใจ ลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ อาการสำคัญ คือ หอบเหนื่อยง่าย ตับโต ขาบวม ดังนั้น ยาหลักที่ใช้ในการรักษา คือ ยาขับปัสสาวะ และ ยาลดแรงต้านต่อหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานได้สบายขึ้น
ยาขับปัสสาวะ เป็นยาขับน้ำและเกลือออกจากร่างกาย ทำให้สารน้ำที่สะสมอยู่ในปอด ตับ หรือ ร่างกายของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวลดลง ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายขึ้น เหนื่อยและบวมลดลง แต่หากขับปัสสาวะมากเกินไปก็อาจเกิดอันตรายได้ เนื่องจากเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ จึงควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด
ยาลดแรงต้านต่อหัวใจ ยากลุ่มนี้ช่วยให้หัวใจทำงานได้สบายขึ้น เนื่องจากแรงต้านต่อการบีบตัวของหัวใจลดลง ได้แก่ยากลุ่ม Angiotensin Converting Enzyme Inhibitors (ACEI) และ Angiotensin II Receptor Blockers (ARB) นอกจากนั้นยังช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในระยะยาว และลดการรับไว้รักษาใน ร.พ. เนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวอีกด้วย จึงเป็นยาที่จำเป็นมากและควรได้รับไปตลอด อย่างไรก็ตามยากลุ่มนี้มีผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ความดันโลหิตต่ำ ไตเสื่อมในบางราย ไอ (เฉพาะ ACEI )
Beta-blockers ยาต้านเบต้าบางขนิด นำมาใช้ในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังได้ผลดี แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด
ยาลดความดันโลหิต
ภาวะความดันโลหิตสูง แม้จะไม่ใช่ โรคหัวใจ โดยตรงแต่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับโรคหัวใจมาก เนื่องจากความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจ และ ความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ไม่เป็นผลดีต่อผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจอยู่ อีกทั้งยาที่ใช้รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ และ ยาลดความดันโลหิต อาจเป็นยาชนิดเดียวกัน แต่แพทย์ให้ในวัตถุประสงค์แตกต่างกัน
ยาขับปัสสาวะ ยาขับปัสสาวะในขนาดต่ำเป็นยาลดความดันโลหิตที่ได้ผลดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ ผู้ที่รับประทานอาหารเค็ม หรือ บวม นอกจากนั้นยังราคาถูก แต่ผลแทรกซ้อนที่ควรระวัง คือ เกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ กรดยูริคและระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
Beta-blockers เป็นยาลดความดันโลหิตที่ใช้กันมานาน ลดความดันโลหิต ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ผลแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือ หลอดลมตีบในคนที่เป็นหอบหืดหรือสูบบุหรี่จัด อาการอ่อนเพลีย หย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเล็กน้อย
Calcium channel blockers ยากลุ่มนี้มีหลายชนิด ล้วนสามารถลดความดันโลหิตได้ดี ผลแทรกซ้อนที่พบบ่อยจะแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม เช่น ปวดศีรษะ ใจสั่น เท้าบวม เป็นต้น ไม่มีผลเสียต่อไต หรือ ระดับน้ำตาลในเลือด
Alpha-blockers เป็นยาลดความดันโลหิตอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ไม่มีผลเสียต่อไต หรือระดับน้ำตาลในเลือด และยังนำมาใช้ในการรักษาอาการปัสสาวะขัดเนื่องจากต่อมลูกหมากโตอีกด้วย
Angiotensin Converting Enzyme Inhibitors (ACEI) เป็นยาลดความดันโลหิตที่ปัจจุบันราคาไม่แพง ประสิทธิภาพดี แต่มีผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ อาการไอ มักจะไอแห้งๆคันคอ ไม่มีอาการหวัด ไอเป็นชุด คล้ายภูมิแพ้ อาการนี้พบได้บ่อยในคนเอเชีย ทำให้ผู้ป่วยต้องเปลี่ยนไปใช้ยากลุ่มอื่นแทน
Angiotensin II Receptor Blockers (ARB) เป็นยาลดความดันโลหิตที่ใช้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน ผลแทรกซ้อนจากยามีน้อยมาก ไม่ควรใช้ในกรณีที่ไตเสื่อมอย่างมาก (ยกเว้นได้รับการฟอกไต) ข้อเสียสำคัญคือราคาแพง
จะเห็นได้ว่า ยาที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจมีมากมายหลายชนิด อีกทั้งยาบางชนิดใช้ในหลายโรค และ ผู้ป่วยโรคหัวใจส่วนใหญ่จะมีโรคอื่นๆร่วมด้วย มักจะได้รับยาหลายชนิดร่วมกัน ผู้ป่วยควรจะต้องทราบว่ารับประทานยาอะไรอยู่บ้าง ขนาดยาเป็นอย่างไร โดยอาจจดชื่อยาและวิธีรับประทาน หรือ นำยาที่รับประทานอยู่ให้แพทย์ดูทุกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับยาซ้ำซ้อน และปฎิกริยาระหว่างยาด้วยกัน ซึ่งบางครั้งรุนแรงมาก